เปิดเงินเดือu !นายกเทศมนตรี-สท. รับกันเท่าไหร่ หลังสู้ศึกชิงตำแหน่งดุเดือด

เปิดเงินเดือน นายกเทศมนตรี-สท. รับกันเท่าไหร่ หลังสู้ศึกชิงตำแหน่งดุเดือด


เปิดเงินเดือน นายกเทศมนตรี-สท. รับกันเท่าไหร่ หลังแข่งขันชิงตำแหน่งดุเดือด โดยวันนี้ 11 พ.ค.68 เลือกกันทั่วประเทศ 76 จังหวัดวันนี้ 11 พ.ค.2568 เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของท้องถิ่น เนื่องจากเป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และ นายกเทศมนตรี ทั่วประเทศ 76 จังหวัด 2,469 แห่งโดยเป็นการเลือกตั้งทั้งสมาชิกและนายกเทศมนตรี 2,121 แห่ง และเป็นการเลือกตั้งเฉพาะสมาชิกสภาเทศบาล 348 แห่ง เนื่องจากมีการเลือกไปก่อนหน้านี้แล้ว ในกรณีพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอื่น ที่ไม่ใช่อยู่จนครบวาระที่ต้องเลือกในวันนี้
โดยพี่น้องประชาชนจำนวนมาก ต่างทยอยออกไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงของตัวเองกันอย่างคึกคัก เพื่อต้องการเลือกผู้นำเข้ามาบริหารถิ่นที่อยู่อาศัยให้มีความเจริญรุ่งเรือง และช่วยแก้ปัญหาต่างๆในพื้นที่

สำหรับอัตราเงินเดือนประจำตำแหน่งตามระเบียบกระทรงวมหาดไทย ว่าด้วยเงินเดือน เงินค่าตอบแทน และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล รองประธานสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล เลขานุการนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และการจ่ายค่าเบี้ยประชุมกรรมการสภาเทศบาล พ.ศ. 2554 มีดังนี้

นายกเทศมนตรี
เงินเดือน 10,080-55,530 บาท

บาทเงินกู้

เงินค่าตอบแทนประจำตำแหน่ง 2,100-10,000 บาท
เงินค่าตอบแทนพิเศษ 2,100-10,000 บาท
รวม 14,280-75,530 บาท

รองนายกเทศมนตรี

เงินเดือน 5,520-30,540 บาท
เงินค่าตอบแทนประจำตำแหน่ง 1,575-7,500 บาท
เงินค่าตอบแทนพิเศษ 1,575-7,500 บาท
รวม 8,670-45,540 บาท

ประธานสภาเทศบาล

เงินเดือน 5,520-30,540 บาท

บาทเงินกู้

รองประธานสภาเทศบาล
เงินเดือน 4,530-24,990 บาท

สมาชิกสภาเทศบาล

เงินเดือน 3,520-19,440 บาท
เลขานุการนายกเทศมนตรี
เงินเดือน 5,820-19,440 บาท

ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี
เงินเดือน 2,520-13,880 บาท
ทั้งนี้เงินเดือนที่ได้รับจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับรายได้ของเทศบาล ตั้งแต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท ไปจนถึงเกิน 300 ล้านบาท

บาทเงินกู้

โดยรายได้ของเทศบาล หมายถึง รายได้จริงของปีงบประมาณที่แล้วมา ทั้งนี้ ไม่รวมเงินกู้ เงินสะสม และเงินอุดหนุนทุกประเภท ใช้เป็นฐานในการคำนวณอัตราเงินเดือน และค่าตอบแทนในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี

บทบาทหน้าที่ของ “สภาเทศบาล” มีอะไรบ้าง
1. ทำหน้าที่สะท้อนความต้องการของประชาชนในเขตเทศบาล เช่น รับฟังปัญหา ความต้องการ ตลอดจนข้อร้องเรียน ต่างๆ ของประชาชน แล้วนำข้อเรียกร้องเหล่านั้นเสนอต่อฝ่ายบริหารดำเนินการแก้ไข

2. ทำหน้าที่ออกเทศบัญญัติ คือ สภาเทศบาลทำหน้าที่เป็นองค์กรทางนิติบัญญัติในเทศบาล ทำหน้าที่ในการพิจารณา กลั่นกรอง และอนุมัติกฎหมายต่าง ๆ ว่าควรบังคับใช้ในเขตเทศบาลหรือไม่ หน้าที่ในประการนี้ถูกกำหนดไว้ในมาตรา 60 แห่ง พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2543 ที่กำหนดว่า “เทศบาลมีอำนาจตราเทศบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อบทกฎหมาย”

3. ทำหน้าที่ตรวจสอบ และถ่วงดุลฝ่ายบริหาร เช่น ตั้งกระทู้ถามฝ่ายบริหารเพื่อให้ฝ่ายบริหารชี้แจงข้อเท็จจริงหรือแนวทางเพื่อดำเนินการแก้ไข , ตรวจสอบการทำงานโดยคณะกรรมการสามัญและคณะกรรมกาวิสามัญของสภาเทศบาลคณะกรรมการสามัญและวิสามัญของสภาเทศบาล และการเสนอเพื่อให้มีการออกเสียงประชามติในเขตเทศบาล

ไม่มีคำอธิบาย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *